ผนึกกำลัง 16 มหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ ร่วมกิจกรรม RSP Knowledge Sharing Financial Security Ep.2 เสริมศักยภาพการเข้าถึงแหล่งทุน หนุนอุทยานฯ สู่ความยั่งยืนทางการเงิน

เมื่อวันที่ 7–9 กรกฎาคม 2568 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) มอบหมายให้ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินการจัดกิจกรรม RSP Knowledge Sharing หัวข้อ “เทคนิคการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านการเงินของอุทยานวิทยาศาสตร์ (Financial Security Ep.2)” ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด และอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 (จ.ขอนแก่น)
ภายในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม รองปลัดกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน โดยมี ศาสตราจารย์ผิวพรรณ มาลีวงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้แทนอธิการบดี กล่าวต้อนรับ และ ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม
กิจกรรมครั้งนี้มีผู้บริหารจาก กปว. อว. เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Science Park: RSP) 4 แห่ง และเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ 16 มหาวิทยาลัย (University Science Park: USP) เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนากลไกการเข้าถึงแหล่งทุนอย่างเป็นระบบ
ไฮไลต์ของกิจกรรม ประกอบด้วย
** วันที่ 7 กรกฎาคม 2568
- การเสวนาในหัวข้อ “การเข้าถึงแหล่งงบประมาณหน่วยงานผู้ให้ทุน”
โดยวิทยากรผู้แทนจากหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ อาทิ กองทุน TED Fund, สวก., NIA, depa, บพค., บพท. และกองทุน Innovation ONE ที่ให้ข้อมูลช่องทางและเทคนิคการขอทุน พร้อมแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งการเสวนาออกเป็น 2 ช่วง
-การเสวนาช่วง 1 ได้รับเกียรติจาก
1. นางสาวไปยดา หาญชัยสุขสกุล ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยี
และนวัตกรรม (กองทุน TED Fund)
2. นางสาวพิมพ์ชนก ยอดแคล้ว นักวิเคราะห์ปฏิบัติการ 2 สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
3. นางสาวสุภาพร คณะพรม นักพัฒนานวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) (NIA)
4. ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ (กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
ผู้ดำเนินรายการเสวนา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระพงษ์ วงษ์ทหาร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- และการเสวนาช่วงที่ 2 ได้รับเกียรติจาก
1. นางสาวเยาวดี รุ่งเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีขั้นแนวหน้า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
2. รองศาสตราจารย์ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
3. ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการใหญ่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (“กองทุนอินโนเวชั่น วัน” (Innovation ONE))
ผู้ดำเนินรายการเสวนา : รองศาสตราจารย์ชญาดา สุระวนิชกุล อาจารย์ประจำคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้าง Project Flagship Model”
โดย ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อปูพื้นฐานในการเขียนข้อเสนอโครงการตาม Flagship ของพื้นที่ เพื่อเตรียมขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุน
** วันที่ 8 กรกฎาคม 2568
การเสวนา ในหัวข้อ “ระเบียงเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค”
โดยผู้บริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคที่มาแบ่งปันข้อมูลระเบียงเศรษฐกิจในภูมิภาค อาทิ โอกาส อุปสรรค ของพื้นที่ และบทบาทของอุทยานวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้เเก่
1. ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
2. รองศาสตราจารย์ปิติวัฒน์ วัฒนชัย รองประธานคณะทำงานขับเคลื่อนอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ
3. อ.ดร.วัชรพงษ์ ปะตังทะโล ผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้ดำเนินรายการเสวนา : รองศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- และ การนำเสนอ Project Flagship Model
จากตัวแทนเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเป็นต้นแบบการวางกลยุทธ์การดำเนินงานและการเขียนข้อเสนอโครงการขอทุนจากหน่วยงานสนับสนุน
กิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเชิงกลยุทธ์แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์ ในการเข้าถึงแหล่งทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และวางแผนสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ สร้างการมีส่วนร่วม และการขับเคลื่อนนวัตกรรมในระดับภูมิภาคอย่างเป็นระบบ
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะเจ้าภาพ จึงมุ่งหวังให้กิจกรรม RSP Knowledge Sharing 2025 ครั้งนี้เป็นเวทีแห่งการเรียนรู้และจุดประกายความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ระหว่างเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของระบบนิเวศวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศไทยในอนาคต
#อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค #เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ #16มหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์
#RegionalSciPark #RSP #TotalSolutionsForInnovation
#RSPNortheast1 #RSPNorth #RSPNortheast2 #RSPSouth
#KKUSP #เทคนิคการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านการเงินของอุทยาน
ภาพ : นภดล,ปภาดา
ข่าว : พรสุดา ลานอก