RSP Northeast 1 ขยายเครือข่ายสู่สกลนคร ร่วมหารือ "จัดตั้งเขตนวัตกรรมพิเศษบนพื้นที่กลุ่มจังหวัดสนุก โดยมี มรภ.สกลนครเป็นแกนนำ" เสริมพลังนวัตกรรมภาคอีสาน



8 ก.ค. 2568

        เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 (RSP Northeast 1) เปิดบ้านต้อนรับ ผศ.ดร.ก้องภพ ชาอามาตย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และคณะทำงานขับเคลื่อนอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัณฏสกลนคร เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดตั้ง “จัดตั้งเขตนวัตกรรมพิเศษบนพื้นที่กลุ่มจังหวัดสนุก” โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเครือข่ายของ RSP NE1 เป็นแกนนำขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และการบริการตามบทบาทของมหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด "สนุก"

      ในการนี้ ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย นางสาวพรชวรัตน์ ฐานมั่น เลขานุการคณะทำงานขับเคลื่อนอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 (คนที่ 1) และ นางสาวพิชชาญา ไกรสกุล ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานขับเคลื่อนอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 (คนที่ 1) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์ตั้งแต่แนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ การยกระดับงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ ผ่านการใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.)

      อีกทั้งแลกเปลี่ยนรูปแบบการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคส่วน (Quadruple Helix) คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบ

     ประเด็นหลักในการหารือ ได้แก่

- แนวทางการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัย

- รูปแบบการบริหารจัดการ

- การบ่มเพาะผู้ประกอบการ และการเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม

- การออกแบบโครงการเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น

   การแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ต่อยอดจากการ Independent Study ภายใต้โครงการ “ผู้จัดการนวัตกรรม (Certified Innovation Manager: CIM)” ซึ่งมุ่งสร้างบุคลากรเชื่อมโยงภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนา “พื้นที่นวัตกรรมสกลนคร” อย่างเป็นรูปธรรม

    RSP NE1 พร้อมเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในระยะเริ่มต้น เพื่อผลักดันให้ มรภ.สกลนคร เดินหน้าในการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ และร่วมเป็นกำลังสำคัญในเครือข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจนวัตกรรมของประเทศ

การเชื่อมโยงในครั้งนี้ไม่เพียงขยายพื้นที่ให้บริการของอุทยานฯ ให้เข้าถึงผู้ประกอบการในจังหวัดสกลนครได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของการสร้าง “ระบบนิเวศนวัตกรรมภูมิภาค” ที่ขับเคลื่อนได้จริง ด้วยพลังของความร่วมมือและองค์ความรู้ด้าน วทน.

#เขตนวัตกรรมพิเศษบนพื้นที่กลุ่มจังหวัดสนุก

#พื้นที่นวัตกรรมสกลนคร

#มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

#RegionalSciencePark #RSP #TotalSolutionsForInnovation #RSPNortheast1 #อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1 #อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ : พรสุดา

ข่าว: แผนกประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม

Tags:
Share: