UBI อีสานบนร่วมประชุมระดมความเห็น Shaping the Future UBI Potential in Action สร้างอนาคตเพื่อยกระดับศักยภาพ UBI สู่ความสำเร็จ

เมื่อวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มข. และประธานเครือข่ายหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator : UBI) เข้าร่วมการประชุมระดมความเห็น "Shaping the Future: UBI Potential in Action - สร้างอนาคตเพื่อยกระดับศักยภาพ UBI สู่ความสำเร็จ" นำโดย ผอ.เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดร.ชลิศา ทรัพย์พร หัวหน้าโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา และดร.ทินกร รสรื่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) 83 แห่ง ณ ห้องประชุม Jamjuree 1 ชั้น M โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส (Pathumwan Princess Hotel) และผ่านระบบ VDO Conference
โดยมีประเด็นพิจารณา ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 - พิจารณา (ร่าง) ยุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย โดยแบ่งเป็นระยะสั้น (2 ปี) ระยะกลาง (5 ปี) ระยะยาว (5+5 ปี) โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาเสนอให้มี “นโยบายหลักระดับชาติ” ที่ชัดเจนและขับเคลื่อนผ่านกลไกกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น (Adaptive Governance) โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Synergy Hub) เชื่อมโยงทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐ ควบคู่ไปกับการเร่งยกระดับศักยภาพบุคลากร (Talent Transformation) และสร้างระบบสนับสนุนผู้ประกอบการ (Entrepreneurs Advancement) ให้เต็มรูปแบบ เพื่อให้ UBI แต่ละแห่งสามารถขับเคลื่อนได้อย่างยั่งยืนและสร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างแท้จริง
กิจกรรมที่ 2 - ระดมความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) เครื่องมือ 1 ชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) : มิติการประเมินความพร้อม (UBI Readiness Assessment) เครื่องมือ 2 ชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) : มิติการประเมินศักยภาพ (UBI Performance Assessment) โดยรวม ทุกข้อเสนอแนะต่างมุ่งยกระดับ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) ในสถาบันอุดมศึกษา” ให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างผู้ประกอบการคุณภาพสูง พัฒนาศักยภาพผลงานวิจัยและนวัตกรรม ปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการ ให้มีความพร้อมทั้งทางการเงินและองค์ความรู้ รวมทั้งขยายเครือข่ายความร่วมมือไปถึงระดับสากลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
กิจกรรมที่ 3 - พิจารณา (ร่าง) ข้อกำหนดโครงการที่สอดคล้องกับแผนการพัฒนายุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)
กิจกรรมที่ 4 - ระดมความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) เครื่องมือ 3 หลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร และผู้ประกอบการที่เข้ารับการบ่มเพาะของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI Development Program)
กิจกรรมที่ 5 - ระดมความคิดเห็นต่อ (ต้นแบบ) ระบบการบริหารจัดการบัญชีของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา
นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก ผอ.เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ (ผอ.กปว.) ในการบรรยาย เรื่อง ระบบบริหารโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
การประชุมในครั้งนี้ นับเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหาร ประธานเครือข่ายทั้ง 9 แห่ง ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ และผู้ประกอบการ ได้รับทราบผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนา UBI รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่นำไปปฏิบัติได้จริง การออกแบบเครื่องมือการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน และการยกระดับระบบบริหารจัดการทรัพยากรและบัญชีให้ได้มาตรฐาน พร้อมขับเคลื่อนสู่ UBI Next อย่างมั่นคง
#KKUSP #KKU #KhonKaenUniversity #KhonKaenUniversitySciencePark #RegionalSciencePark #RSP #TotalSolutionsForInnovation #RSPNortheast1 #อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1 #อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น #UBI #UBIDevelopmentProgram #ShapingTheFuture #UBI Potential in Action
ข่าว : ฉัตรธิดา