อุทยานวิทย์ฯ มข. พลิกมูลแมลงเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ชุมชน



26 ต.ค. 2567

    อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1  (จ.ขอนแก่น ) ลงพื้นที่ปิดโครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการพัฒนาสูตรวัสดุปรับปรุงดินจากมูลแมลง เพื่อเพิ่มมูลค่าแมลงและใช้สำหรับเพาะปลูกพืช”  ภายใต้แผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area-base Innovation for Community) ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมี รศ. นันทวัน ฤทธิ์เดช สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ผู้เชี่ยวชาญที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี ) พร้อมคณะนักวิจัย เจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์ และตัวแทนวิสาหกิจเข้าร่วม  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดและตั๊กแตนหนองผักชี ตำบลหนองฉิม อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ

     ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดและตั๊กแตนหนองผักชี ประสบปัญหามูลแมลงที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการเลี้ยงแมลงของกลุ่มวิสาหกิจฯ ซึ่งมีปริมาณเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก และเมื่อนำมาทำปุ๋ยหมักแบบน้ำ หรือหมักร่วมกับน้ำหมัก EM พบว่าปุ๋ยมีกลิ่นไม่พึงประสงค์

      จากการเข้าร่วมโครงการ คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการคิดค้นแนวทางการแก้ปัญหานี้โดยการนำมูลแมลงที่มีมาผลิตเป็นสารปรับปรุงบำรุงดินโดยทำการหมักร่วมกับวัสดุที่มีในท้องถิ่น ได้แก่ เศษใบไม้ และหญ้าสด นอกจากนี้ยังได้ทำการคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และทำการปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์ได้ทั้งหมด 4 สูตร และทำการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ และทำการทดสอบการส่งเสริมการเจริญของเมล็ดผักชี เพื่อดูประสิทธิภาพของสารปรับปรุงบำรุงดินมูลแมลงที่ผลิตขึ้น ก่อนนำไปเผยแพร่ให้กับชุมชนเพื่อใช้การในเพาะปลูก ลดค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกพืช รวมไปถึงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการจำหน่ายหารายได้เพิ่มอีกด้วย

#RegionalSciencePark #RSP #TotalSolutionsForInnovation

#RSPNortheast1 #อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1 #KKUSP #KhonKaenUniversity #ยกระดับชุมชน #โครงการแผนงานการส่งเสริมการนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน #Area_baseInnovationForCommunity

 

ภาพ , ข่าว : แผนกประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม

Tags:
Share: