“บพข. จับมือ ม.ขอนแก่น หนุนนวัตกรรมยกระดับผู้ประกอบการ ด้วย IDEs มุ่ง Global Market สู่ประเทศรายได้สูง”
“บพข. จับมือ ม.ขอนแก่น หนุนนวัตกรรมยกระดับผู้ประกอบการ ด้วย IDEs มุ่ง Global Market สู่ประเทศรายได้สูง”
วันที่ 25 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา หน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย อุทยานวิทยาศาสตร์ จัดประชุมติดตามการดำเนินงานระยะ 3 เดือน “โครงการส่งเสริมขับเคลื่อนธุรกิจด้วยฐานนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU Innovation Driven Enterprise)” ครั้งที่ 1/2566 มหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะหน่วยงาน Intermediary นำโดย ศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ พร้อมด้วยดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ นางสาววราภรณ์ ผิวพรรณงาม รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้การต้อนรับและนำเสนอแผนการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการ ดังนี้
1) นางจันทรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ ประธานอนุกรรมการแผนงาน IDEs
2) นายวิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล อนุกรรมการฯ
3) คุณประวิทย์ ประกฤตศรี อนุกรรมการฯ
4) รศ.ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล อนุกรรมการและเลขานุการฯ และคณะ
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้เยี่ยมชมพื้นที่อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) เริ่มต้นที่ห้องปฏิบัติการ Smart City Operational Center โดยมีรศ.ดร.รวี หาญเผชิญ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และที่ปรึกษาบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ให้ข้อมูลและบรรยาย จากนั้น รับฟังการบรรยายการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการฟีโนม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ห้องปฏิบัติการปรับปรุงพันธุ์สัตว์และโอมิกส์ทางสัตว์ จากนั้น เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ โดยมี รศ.ดร.นงลักษ์ มีทอง ผู้อำนวยการให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น)
สำหรับแผนงานพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation driven enterprises: IDEs) ขนาดใหญ่ โดยสนับสนุนทุนบางส่วนแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง (Medium enterprise) และใหญ่ (Large enterprise) สำหรับจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้ธุรกิจขยายตัวอย่างก้าวกระโดดจากการเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขัน ผ่านกลไกความร่วมมือและร่วมพัฒนากับองค์กรหรือบุคคลในเครือข่ายการพัฒนานวัตกรรม (Intermediary and Innovation network) อาทิเช่น Intermediary หรือ หน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อการพัฒนาธุรกิจฐานนวัตกรรม (IBDS) เพื่อขยายรูปแบบการสนับสนุนงบประมาณไปสู่ธุรกิจขนาดเล็ก (SMEs) อันนำไปสู่การยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
ข่าว/ภาพ : ณัฐกานต์
#IDE #Innovation #Enterprise #KhonkaenUniversity #NESP #KKUSP